Posted on Leave a comment

Child-Development 4-6

พัฒนาการทารกวัย 4-6 เดือน จะมีอะไรกันบ้าง?
จะมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย สังคม และสติปัญญาอย่างไร ไปอ่านกันค่ะคุณแม่ๆ

พัฒนาการทางร่างกาย

• พลิกคว่ำได้คล่องขึ้น
• ยกศรีษะได้เมื่อนอนคว่ำ
• ใช้แขนยันตัวเองได้
• เรียนรู้การส่งของมือซ้าย-ขวา

อาหาร
• 4-5 เดือน ทานนมแม่อย่างเดียว
• 6 เดือน อาหารเสริม+นมแม่

อาหารเสริม
• ข้าวบดปั่นละเอียด ราดด้วยนมแม่ (เพราะทารกยังไม่คุ้นชินกับรสชาติของอาหาร)

น้ำหนักและส่วนสูง
• เด็กผู้ชาย 5-9 Kg./57-70 Cm
• เด็กผู้หญิง 4-8.5 Kg./55-71 Cm.

ของจำเป็น
• เครื่องปั่นอาหารทารก ผ้ากันเปื้อน

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ตัวอ่อนปวกเปียกอย่างเห็นได้ชัด
• เอื้อมมือแตะสิ่งของข้างเดียว
• ไม่พยายามกลิ้งหรือนั่ง
• ตาเขเข้าหรือออก

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

• แยกความแตกต่างของใบหน้า
• สนใจของเล่น
• หัวเราะและส่งเสียงอ้อแอ้

วัคซีนทารก
4 เดือน
– DPT2-HB (คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 2)
– 0PV2 ( โปลิโอ ครั้งที่ 2 ) Hib 2 (วัคซีนเสริม)
6 เดือน
– HBV3 (ไวรัสตับอักเสบ บี ครั้งที่ 3)
– 0PV3 ( โปลิโอ ครั้งที่ 3 )

ของใช้จำเป็น
• ของเล่นสีสันกระตุ้พัฒนาการ

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• สื่อสารกับทารก บ่อยๆ
• เล่านิทานให้ฟัง
• เล่นจ๊ะเอ๋

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ตอบสนองต่อเสียงและภาพ
• ไม่หยิบจับสิ่งของ

พัฒนาการด้านสังคม

• รู้สึกสนุกเมื่อได้เล่น
• โผเข้ากอด
• จำใบหน้าพ่อแม่ได้

การขับถ่าย
• ฉี่วันละ 8  ครั้ง
• ขับถ่ายวันละ 2-5 ครั้ง
ระวัง
• ของเล่นที่เป็นเหลี่ยม มีคม

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• กอดและกล่อม
• อุ้มหรือกอดอย่างเบามือ
• เปิดเพลงฟังให้ผ่อนคลาย

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ยิ้มตอบเมื่อได้ยินเสียงคนใก้ลชิด
• ไม่หัวเราะหรือร้องไห้

Posted on Leave a comment

Child-Development 1-3

พัฒนาการทารกวัย 1-3 เดือน จะมีอะไรกันบ้าง?
จะมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย สังคม และสติปัญญาอย่างไร ไปอ่านกันค่ะคุณแม่ๆ

พัฒนาการทางร่างกาย

• เริ่มชันคอได้ เมื่อนอนคว่ำ
• กำและแบมือ
• เริ่มคว้าสิ่งของ
• เอามือเข้าปาก
• เล็บยาวเร็ว

อาหาร
• นมแม่อย่างเดียว ( อายุ 1-2 เดือน ทาน 16-24 ออนซ์ ทุก 2-3 ช.ม / 3 เดือน 24-32 ออนซ์ ทุก 3-4 ชม)

น้ำหนักและส่วนสูง
• เด็กผู้ชาย 3.6–6.4 Kg./50-55 Cm.
• เด็กผู้หญิง 3.3-4.4 Kg./49-54 Cm.

ของจำเป็น
• ที่ตัดเล็บ เพราะช่วงนี้เล็บยาวเร็ว ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ปรากฏพัฒนาการด้านการควบคุมหรือเคลื่อนไหวศีรษะ
• ไม่หยิบฉวยหรือถือสิ่งของใด ๆ

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

• สังเกตสิ่งรอบตัว
• นิ่งฟังหรือยิ้มตอบ
• ส่งเสียงอ้อแอ้
• แยกคำพูดและเสียงอื่นๆได้

วัคซีนทารก
1 เดือน – ไวรัสตับอักเสบบี (ครั้งที่ 2)
2 เดือน – DPT1-HB (คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก) ครั้งที่ 1
OPV1 (โปลิโอ) ครั้งที่ 1 / Hib1 (วัคซีนเสริม)

ของใช้จำเป็น
• ของเล่นสีสันกระตุ้พัฒนาการ

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• สื่อสารกับทารก บ่อยๆ
• ร้องเพลง หรือ เล่านิทานภาพให้ฟัง
• อธิบายในสิ่งรอบตัว
• เล่นส่องกระจกให้ฝึกมองตัวเอง

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่มองมือตัวเอง
• ไม่มองตามสิ่งของที่เคลื่อนไหว
• ไม่แสดงอาการ ฟังหรือตกใจ เมื่อได้ยินเสียงดังผิดปกติ

พัฒนาการด้านสังคม

• โต้ตอบเวลาคุยเล่น
• เลียนแบบสีหน้าพ่อแม่
• โผเข้ากอดเมื่อต้องการความปลอดภัยหรือการปลอบโยน

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• ชวนทารกคุยด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม
• อุ้มหรือกอดอย่างเบามือ ทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น
• การสัมผัสระหว่างทารกและคุณพ่อคุณแม่
• การดูแลอย่างใก้ลชิด เวลาทารกหิว
• อยากให้กอด ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ยิ้มตอบเมื่อได้ยินเสียงของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้คน

Posted on Leave a comment

Child-Development 7-9

พัฒนาการทารกวัย 7-9 เดือน จะมีอะไรกันบ้าง?
จะมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย สังคม และสติปัญญาอย่างไร ไปอ่านกันค่ะคุณแม่ๆ

พัฒนาการทางร่างกาย

• คลานได้ทั้งวัน
• นั่งเองได้
• เริ่มอยากยืน
• ชอบปืนป่าย
• ฟันเริ่มงอก

อาหาร (ลดนม เพิ่มอาหาร)
• ทานนมน้อยลง เสริมอาหารเป็น 2-3 มื้อ เพิ่มความหยาบของอาหารได้มากขึ้น  ทานเนื้อสัตว์และผลไม้ได้หลากหลายมากขึ้น

น้ำหนักและส่วนสูง
• เด็กผู้ชาย 7-11 Kg. / 63-76 Cm.
• เด็กผู้หญิง 6-10  Kg. / 61-76 Cm.

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• ช่วงนี้เป็นช่วงฝึกการทรงตัว คุณแม่ควรให้ลูกเปลื่ยนพื้นที่ยืนบ้างเช่น กับพื้นหญ้าและพื้นทราย

ของจำเป็น
• ฟันเริ่มงอกแล้ว เตรียมแปรงไว้เลย

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่กลิ้งตัวหมุน
• ไม่ลุกขึ้นนั่ง
• ไม่เอื้อม หรือ หยิบสิ่งของเข้าปาก

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

• แยกอารมณ์ความรู้สึกได้
• เปล่งเสียง พ่อ แม่ ได้
• เรียนรู้การใช้สิ่งของ
• ฝึกใช้สองนิ้วเพื่อหยิบจับ (นิ้วโป้ง-นิ้วชี้)
• ฝึกจดจำสิ่งต่างๆ

วัคซีน (ที่จำเป็น)
9 เดือน วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม ครั้งที่ 1
9 เดือน – 2 ปีครึ่ง วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
**ครั้งที่ 1, 2 (ห่างกัน 4 สัปดาห์)

ของใช้จำเป็น
• ของเล่นกระตุ้นสัมผัส
• Flash Card ช่วยเพิ่มสมาธิ

การระมัดระวัง
• เอามือแหย่ปลั๊ก
• หยิบของไม่สะอาดเข้าปาก

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• สื่อสารกับทารก บ่อยๆ
• เล่านิทานให้ฟัง ด้วยเสียงและสีหน้าที่ต่างกันเพื่อให้ทารกฝึกภาษาและสำเนียง
• ให้หยิบของเล็กๆเพื่อฝึก นิ้วโป้ง – นิ้วชี้
• พอลูกไปดูสัตว์ การเลียนเสียงสัตว์ช่วยเพิ่มพัฒนาการภาษา

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ตอบสนองต่อเสียงและภาพ
• ไม่หยิบจับสิ่งของ
• ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้

พัฒนาการด้านสังคม

• ติดแม่มากๆ
• กังวลเมื่อเจอคนแปลกหน้า
• มีปฎิกริยากับสิ่งที่พ่อแม่แสดงออก

การขับถ่าย
• ฉี่วันละ 10 -12 ครั้ง
• ขับถ่ายวันละ 2-5 ครั้ง

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• หาเวลาเล่นกับลูก
• อ่านหนังสือ
• เปิดเพลงให้ฟัง
• หาของนุ่มๆ เพื่อให้อุ่นใจ
• ตบมือชื่นชมเมื่อลูกยืนหรือทำอะไรได้ด้วยตัวเอง

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ยิ้มตอบเมื่อได้ยินเสียงคนใก้ลชิด
• ไม่หัวเราะหรือร้องไห้

Posted on Leave a comment

Child-Development 10-12

พัฒนาการทารกวัย 10-12 เดือน จะมีอะไรกันบ้าง?
จะมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย สังคม และสติปัญญาอย่างไร ไปอ่านกันค่ะคุณแม่ๆ

พัฒนาการทางร่างกาย

• ชอบปืนป่าย
• ลุกนั่งเองได้
• เดินเตาะแตะ

อาหารปั่นหยาบ เสริม 3 มื้อ
• งดนมหรืออาหารเสริมอื่นๆ เพื่อฝึกให้รู้จักความหิว

น้ำหนักและส่วนสูง
• เด็กผู้ชาย 8-11 Kg. / 68-81 Cm.
• เด็กผู้หญิง 7-11.5  Kg. / 65-78 Cm.

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• การเดินหรือปืนช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง (คุณแม่ต้องดูแลความปลอดภัยอย่างใก้ลชิด)
• ยิ้มและตบมือชื่นชมให้ลูกภูมิใจในตัวเอง

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่คลาน
• ไม่ยืน (แม้พ่อแม่ช่วย)
• ไม่ประสานสายตา

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

• อารมณ์ซับซ้อนขึ้น
• งอนเก่ง
• จำเก่ง
• ไม่ชอบให้สั่ง
• ชอบสำรวจ

วัคซีน
JE1 และ JE2 (ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 1 และ 2 ห่างกัน 4 สับดาห์)

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• ใช้ภาษาพูดมากขึ้น
• พูดคำเดิมๆซ้ำให้จดจำ
• พูดแล้วชี้ไปที่สิ่งนั้น
• บอกให้รู้ว่าทำแบบไหนดี
• ทำตามให้เลียนแบบ

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่แสดงท่าทาง
• ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
• ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้

พัฒนาการด้านสังคม

• สื่อสารว่าต้องการอะไร
• เริ่มไม่กังวลเมื่อเจอคนแปลกหน้า
• มีปฎิกริยากับสิ่งที่พ่อแม่แสดงออก
• อยากเล่นด้วย เมื่อเจอเพื่อน

การขับถ่าย
• ฉี่วันละ 10 -12 ครั้ง
• ขับถ่ายวันละ 2-5 ครั้ง

ของใช้จำเป็น
• บล็อกของเล่น เสริมทักษะ
ควรระวัง :  ทุกครั้งที่ลูกเล่นของเล่น ควรดูแลอย่างใก้ลชิด

วิธีเพิ่มพัฒนาการ
• พาไปเจอคนอื่นบ้าง
• บอกว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ
• พาไปเล่นกับเพื่อน

ความผิดปกติของพัฒนาการ
• ไม่ยิ้มตอบเมื่อได้ยินเสียงคนใก้ลชิด
• ไม่หัวเราะหรือร้องไห้
• ไม่สนใจคนรอบข้าง

Posted on Leave a comment

ความเชื่อบอกต่อVSความรู้ทางการแพทย์

  เด็กทารกก่อน 6 เดือน การทำงานของลำไส้ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะย่อยอาหารหนัก ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้บริโภคแต่นมแม่ก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
  แต่ผู้ใหญ่ในบ้านหลายท่านอาจจะเคยชินกับการเลี้ยงเด็กแบบสมัยก่อน ที่เริ่มป้อนกล้วยน้ำว้าตั้งแต่แบเบาะด้วยเหตุผลคือกลัวเด็กไม่อิ่ม ซึ่งเป็นอันตรายมากๆ ในอดีตที่การสื่อสารยังไม่รวดเร็วเท่านี้ ข่าวสารการเสียชีวิตของเด็กทารก จากการรับประทานผิดวิธียังไม่ทั่วถึง ดังนั้นคงพูดไม่ได้ว่า เมื่อก่อนป้อนกล้วยได้ ไม่เห็นตายหรอกนะคะ

  สารอาหารจากกล้วยไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายเด็กทารกมากกว่าข้าวและผักอื่นๆ การให้เด็กรับประทานกล้วยก่อนวัยอันควรทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันและหากรักษา ไม่ทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ไม่คุ้มเสี่ยงแน่นอน

  สีขาวบนลิ้นของเด็กทารกส่วนใหญ่เกิดจากการนม โดยเด็กที่กินนมแม่ มีโอกาสน้อยที่คราบนมจะสะสมจนกลายเป็นอันตราย เพราะนมแม่ มีความเข้มข้นน้อยกว่านมชง หากลิ้นเป็นฝ้าขาวจะเกิดขึ้นไม่นาน และจะหายไปเอง โดยไม่ต้องเช็ดหรือป้อนน้ำเพิ่มเลยค่ะ ส่วนเด็กที่กินนมผง หากไม่ป้อนน้ำต้มสุกตาม หรือเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าก๊อชชุบน้ำสะอาด จะก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียในปากได้ ถ้าเด็กมีอาการ ร้องไห้งอแงผิดปกติ หรือทานอาหารได้น้อยลง อาจจะสงสัยว่าลิ้นเป็นฝ้าขาวจากเชื้อราได้

   พบแพทย์ดีที่สุด คุณหมออาจจะจ่ายยาป้ายลิ้นแผนปัจจุบันให้ในกรณีที่เป็นเชื้อรา ไม่ควรใช้ฉี่ หรือยากวาดตามความเชื่อโบราณ เนื่องจากปัสสาวะมีเชื้อโรคผสมอยู่ รวมถึงการใช้ยากวาด ไม่สามรถทราบได้ว่าสิ่งที่นำมาเข้าสู่ร่างกายของ ลูกเรามีส่วนผสมอะไรที่เป็นอันตรายหรือไม่

  หลายคนเชื่อว่ากินน้ำผึ้งแล้วทำให้ผิวสวย ผมดกดำ สร้างเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ทั้งที่ความจริงแล้วน้ำผึ้ง นอกจากจะมีผลให้เด็กติดหวาน เบื่ออาหารที่ไม่มีรสชาติ แล้วยังมีอันตรายจากการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อโรคที่ทำให้เป็นโรคโบทูลิซึ่ม (Botulism Toxin)
  ทั้งนี้โรคนี้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้กับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ทำให้เกิดอาการ ท้องผูก, เบื่ออาหาร, ซึม, ไม่มีแรง, ร้องไห้เสียงเบา, ชัก, หายใจติดขัด, และเสียชีวิตได้

  สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรไม่มีข้อห้ามในการรับประทานน้ำผึ้ง เพราะผู้ใหญ่จะสามารถย่อยสปอร์ได้ และไม่ส่งผ่านทางน้ำนม

  ในเนื้อปลามีสาร DHA หรือกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการพัฒนาของสมองจริง เด็กทารกที่ได้รับสารชนิดนี้ ในช่วง 3 ขวบปีแรก มีโอกาสที่จะมีฉลาดกว่าเด็กที่ขาด DHA แน่นอน
  DHA สามารถพบได้ในปลาทะเลหรือปลาประเภทที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่าปลาซาร์ดีน ปลาซาบะ ปลาแมคคาเรล แต่นอกจากปลาทะเลน้ำลึก จากต่างประเทศแล้ว ปลาทะเลของไทยก็มีคุณค่าทางโภชนาการและโอเมก้า3 สูง ไม่แพ้กันได้แก่ ปลาจะละเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลากะพงแดง ปลาอินทรีย์ ปลาทู ปลาจะละเม็ดดำ ปลาเก๋า รวมถึงปลาน้ำจืดของไทยบางชนิดโดยเฉพาะปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อนปลาสลิดปลาตะเพียนปลากราย ปลานิล และปลาไหล เป็นต้น

  อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน รวมถึงการรับประทานปลาทะเลมีโอกาสทำให้เกิดการแพ้ จึงแนะนำให้เริ่มป้อนทารกจากปลาน้ำจืดก่อนและให้เริ่มปลาทะเลเมื่ออายุครบ 1 ขวบเป็นต้นไป

  ไม่เพียงแต่เด็กเท่านั้นที่ต้องการรับประทานอาหารปรุงสด ผู้ใหญ่เองแล้วการรับประทานอาหารที่ใหม่สดสะอาดก็ปลอดภัยจากเชื้อโรคได้มากกว่าด้วยเช่นกัน แต่การทำอาหารสดสำหรับเด็กทารกดูจะยุ่งยากเสียเหลือเกินในความคิดของคุณแม่มือใหม่ แท้จริงแล้วอาหารสำหรับเด็กวัยเริ่มทานนั้นทำง่ายแสนง่าย ง่ายกว่าอาหารผู้ใหญ่อีกด้วยเนื่องจากไม่ต้องปรุงรสชาติ เพียงแค่กะปริมาณและสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ นำมานึ่งให้สุกแล้วปั่นละเอียดก่อนป้อน เพียงเท่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปที่เสี่ยงต่อสารเจือปนและสารกันบูด สารอาหารก็ได้เต็มที่กว่าอีกด้วย

  แต่หากจำเป็นต้องเลือกใช้อาหารเสริมสำเร็จรูปเป็นบางครั้ง ควรเลือกที่ไม่ผสมสารกันบูด ไม่มีการปรุงรส ตรวจสอบส่วนผสมให้ดีว่ามีเจือปนสิ่งที่ลูกน้อยอาจจะแพ้ได้หรือไม่ “แต่ไม่แนะนำให้ทานอาหารสำเร็จรูปเป็นประจำนะคะ”

  ธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของสมอง และเป็นส่วนประกอบสำคัญในเลือดของเราเป็นตัวนำออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ หากขาดธาตุเหล็กจะส่งผลต่อพัฒนาการ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย อาจจะมีอาการตัวซีดเหลือง
  ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่ประกอบอยู่ในนมแม่เพียงแต่ปริมาณธาตุเหล็กอาจจะไม่เพียงพอกับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มทานอาหารเสริมแล้วจึงสามารถเสริมธาตุเหล็กได้จากอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง หรือได้รับการเสริมธาตุเหล็กจากแพทย์ ไม่จำเป็นต้องเสริมนมผงแต่อย่างใด

  แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ เลือด ไข่แดง และผักใบเขียว สารอาหารที่จะช่วยการดูดซึมของธาตุเหล็กจากอาหารคือวิตามินซี ซึ่งได้รับจากการรับประทานผลไม้

  บริเวณกระดูกนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ สันจมูก (กระดูกแข็ง) กับปลายและปลีกจมูก (กระดูกอ่อน) การบีบหรือคลึงช่วยกระตุ้น การเจริญเติบโตของจมูกได้จริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หากคุณแม่บีบบริเวณสันจมูก ส่วนใหญ่จะไม่มีผลกระทบร้ายแรง แต่ในการบีบบริเวณกระดูกอ่อนนั้น อาจก่อให้เกิดอาการบวมหรืออักเสบได้ง่าย เพราะบริเวณนั้นเป็นส่วนที่มี เส้นเลือดฝอยอยู่จำนวนมาก ซึ่งการอักเสบอาจทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการภูมิแพ้ มีก้อนเนื้อ หรือความผิดปกติอื่น อาการเหล่านี้ค่อนข้างเป็นอันตราย เนื่องจากทารกยังหายใจทางปากไม่เป็น และไม่สามารถบอกคุณแม่ได้

  เด็กทารกเมื่อคลอดใหม่ๆ จมูกมักจะแบน และเมื่อโตขึ้นก็จะโด่งขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งจมูกจะโด่งแค่ไหนนั้นก็ขึ้นกับกรรมพันธุ์ด้วย การบีบไม่ได้มีผลทำให้จมูกโด่งขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการบวมหรืออักเสบซึ่งเป็นอันตรายต่อลูก เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก เราจึงควรปล่อยให้ลูกได้เติบโตตามธรรมชาติและดูแลในส่วนที่เหมาะสมค่ะ

  การให้ลูกนอนคว่ำนั้น อาจจะทำให้หัวสวยจริงแต่ตามหลักทางการแพทย์ คุณหมอไม่แนะนำ เนื่องจากพบว่ามีกรณีเด็กที่นอนคว่ำ มีอาการหยุดหายใจ และเสียชีวิต โดยเกิดได้หลายสาเหตุ เช่นนอนคว่ำหลังจากพึ่งทานนมเสร็จ มีอาการสำลักนมแล้วคุณแม่มองไม่เห็น หรือ เกิดการขาดอากาศหายใจ เนื่องจากจมูกและปากจมไปในฟูกหรือผ้าขนหนู และ การนอนคว่ำ ยังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือโรคไหลตายในทารก โรคนี้มักพบในทารกอายุ 2-4 เดือน แต่ไม่มีสถิติการเสียชีวิตของทารกจากโรคนี้ในประเทศไทย

  การให้ลูกนอนคว่ำ เป็นอันตรายต่อทารก และไม่ได้ช่วยให้เด็กนอนได้นานขึ้น ดังนั้นในสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (Back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนของเด็กเป็นท่านอนหงายเสมอตั้งแต่ปี 1992 ซึ่ง พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลงอย่างชัดเจนค่ะ

Posted on Leave a comment

เริ่มต้นมื้อแรกของลูกอย่างมั่นใจ ได้สารอาหารครบถ้วน

DR.AM_DRY_CLEAN

เริ่มต้นมื้อแรกของลูกอย่างมั่นใจ ได้สารอาหารครบถ้วน

By หมอแอม พญ. พรนิภา ศรีประเสริฐ
ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์

หมอแอมจะมาไขข้อสงสัย การเริ่มอาหารเด็กทารกมื้อแรก ฉบับอัพเดทปี 2022 กันค่ะ

1. เริ่มเมื่อไร
  สามารถเริ่มอาหารเสริมได้เมื่อประมาณอายุ 4-6 เดือน เนื่องจากเด็กอายุก่อน 4 เดือน น้ำย่อยยังไม่พร้อมไม่สมบูรณ์ ถ้าให้ทานอาหารก่อน 4 เดือน อาจจะทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ 

2. วิธีสังเกตความพร้อม
   2.1 เด็กจะต้องนั่งได้ โดยไม่ต้องถึงกับนั่งแข็ง อาจจะโอนเอนไปมาแต่คอต้องไม่อ่อนเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
   2.2 เริ่มทำท่าอยากกิน ดูดนิ้วมือ กลืนเป็นไม่สำลัก
   2.3 ไม่จำเป็นต้องมีฟันขึ้นแล้วก็สามารถทานอาหารได้

3. ควรเริ่มอาหารให้ครบ 5 หมู่ตั้งแต่มื้อแรก
  ปัจจุบันไม่เชื่อเรื่องการเทสอาหารทีละชนิด ทีละสัปดาห์อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากงานวิจัยพบว่าการทำแบบนั้นจะทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นช้าเกินไป โดยเฉพาะเด็กวัย 4- 6 เดือนจำเป็นต้องได้รับการเสริมธาตุเหล็กจากอาหาร

4. อาหารที่ป้อนจะต้องสุก
  ถ้าอาหารไม่สุกดี จะมีเชื้อโรคที่ทำให้เด็กติดเชื้อในลำไส้ ท้องเสีย หรือถ้าหากติดเชื้อรุนแรงก็สามารถติดเชื้อในกระแสเลือดได้

5. ควรเริ่มจากอาหารปั่นละเอียดให้เป็นอาหารเหลว
  โดยเฉพาะในช่วงแรกที่เริ่มหัดทานอาหาร และปรับให้อาหารหยาบขึ้นเรื่อยๆ เพื่อฝึกกลืน การเคี้ยว จบเมื่อครบ 1 ขวบ ก็จะเคี้ยวอาหารเองได้

6. การใช้เครื่องทำอาหารที่ทำได้ทั้งนึ่งสุก
  ปั่นและสามารถปรับความหยาบความละเอียดได้ นำมาใช้อุ่นอาหารก็ได้ จะช่วยให้การทำอาหารไม่ยุ่งยาก เก็บเวลาไว้เล่นกับลูก เสริมพัฒนาการให้ลูกดีกว่า 

Posted on Leave a comment

สุขภาพลูกน้อยสำคัญที่สุด เชื้อโรคไม่เคยปราณีใคร

สุขภาพลูกน้อยสำคัญที่สุด เชื้อโรคไม่เคยปราณีใคร อย่าลืมดูแลใส่ใจความสะอาดนะคะ

เด็กทารกภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง แถมยังชอบเอาของเข้าปาก เด็กวัยนี้จึงท้องเสียและลำไส้อักเสบได้บ่อยกว่าเด็กวัยอื่นๆ ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกขวดนม จุกนม ยากกัด เหล่านี้ เด็กชอบเข้าปากทั้งวัน เรื่องของความสะอาดจึงสำคัญที่สุดค่ะ ซึ่งการทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างภาชนะอาจจะไม่เพียงพอ วิธีการกำจัดเชื้อโรคที่ได้ผลดี คือการใช้ความร้อน หรือแสง UVC จะกำจัดเชื้อโรคได้ดีกว่าค่ะ

การฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อน ทำได้โดยนำขวดนมไปต้มในน้ำเดือด หรือนึ่งด้วยความร้อน 100 องศา อย่างน้อย 10 นาที จึงจะฆ่าเชื้อโรคได้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นแค่ลวกน้ำร้อนแป๊บเดียวไม่ได้นะคะ หมอแนะนำว่าใช้วิธีการนึ่งดีกว่าการต้ม เพราะการต้มขวดนมจะสัมผัสกับความร้อนโดยตรง ถ้าใช้การนึ่งจะถนอมอายุการใช้งานของขวดนมได้ดีกว่า และสะอาดกว่าด้วยค่ะ

การตากแห้งก็สำคัญ เพราะขวดนมที่เปียกจะทำให้เชื้อโรคมาเกาะได้ง่าย จึงควรเลือกเครื่องนึ่งขวดนมที่อบแห้งได้ในตัว ก็จะมั่นใจได้มากกว่าว่าขวดนมสะอาดปลอดภัยกับลูกน้อย

เรื่องที่คุณแม่หลายคนนึงไม่ถึง คือ เรื่องเชื้อโรคและฝุ่นละอองที่เข้ามาพร้อมกับลมที่ใช้อบแห้งขวดนม เนื่องจากเวลาที่อบแห้ง เครื่องจะดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาในเครื่อง ทำให้อาจจะมีฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคติดเข้ามาด้วย โดยเฉพาะช่วงที่มีสถานการณของฝุ่น PM2.5 หากเป็นเครื่องที่ใช้แผ่นกรองปกติ อาจจะไม่สามารถกรองฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ได้ หมอนำว่าให้ใช้เครื่องที่มีแผ่นกรองแบบ Hapa filter จะช่วยกรองฝุ่นละอองได้ดีกว่าค่ะ